วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว จ. สกลนคร



สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า เมืองเชียงใหม่หนองหาน และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสกลทวาปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น เมืองสกลนคร ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชา ของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น
จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น  18   อำเภอ  คือ  อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน

พระธาตุเชิงชุม 
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน เสด็จตามลำแม่น้ำโขง มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า เป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ตามพงศาวดารลาว ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1


พระธาตุ

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwiflryej9DOAhVBsI8KHSE-Ac8QsAQIGw&biw=1280&bih=676#imgrc=_

พระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง 
มี อาณาเขตดังนี้
 ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง



พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตและเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99+%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2+%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwjdzYmYlNDOAhXLNo8KHbePCv4QsAQIGw&biw=1280&bih=676#imgrc=_
 สถานที่สำคัญ ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ภายในวัดป่าสุทธาวาส เขตเทศบาลเมืองสกลนคร ซึ่งร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพรรณ ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อสร้างแบบสถาบัตยกรรมไทยประยุกต์ ที่ดูเรียบง่าย ภายในมีรูปหล่อพระอาจารย์มั่นในท่านั่งสมาธิ และอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นผลึกใสสีขาวบรรจุอยู่ในตู้กระจก พร้อมเครื่องอัฐิบริขาร และเรื่องราวประวัติชีวิตของพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐานท่าน ี้ตั้งแต่เกิดจนมาณภาพ
ส่วน เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือ "จันทรสาร เจติยานุสรณ์" สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ศิษย์เอกของพระอาจารย์มั่น รูปแบบเจดีย์ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในเจดีย์มีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่หลุย และเครื่องอัฐบริขารของท่าน พร้อมนิทรรศการทางพุทธศาสนาที่มีการติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ประกอบนิทรรศการ อย่างครบถ้วน ทันสมัย สามารถปรับใช้เป็นสถานที่ให้ธรรมศึกษา ปฏิบัติสมาธิหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี


พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwiAss_fltDOAhUHMo8KHfZ4BnAQsAQIHQ#imgrc=_
ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคม  ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น  ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต
ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ในคืนวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระอาจารย์ฝั้น  ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ ๗๘ ปี และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษา จะสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้น ผู้เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน
ความเป็นมาในการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโรได้มีพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ภายหลังจากการสรงน้ำศพพระอาจารย์ฝั้น  อาจาโรว่าในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ขอให้ทุกคนได้สามัคคีกัน อย่าให้เกิดความแตกแยกและขอให้ยึดมั่นในคำสอนของท่านไว้ให้มั่นคง ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห่งเดียวกัน เครื่องอัฐบริขารของท่านอาจารย์ ถ้าสามารถเก็บรวมรักษาไว้เป็นที่เดียวกันก็จะดี
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี)  เดินทางไปอำเภอพรรณานิคม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 37 กิโลเมตร  จากนั้นเลี้ยวขวาผ่านที่ทาการอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบทางเข้าวัดป่าอุดมสมพร

วัดอภัยดำรงธรรม
 https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&client=firefox-b-ab&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwiE7KOjmNDOAhWHQo8KHWRbBeYQsAQIIg&biw=1280&bih=676#imgrc=_


วัดถ้ำพวง เป็นวัดธรรมยุตินิกายฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งอยู่ติดกับภูเขาในเขตท้องที่บ้านท่าวัด หมู่ที่ 1 ตำบลปทุมวาปี  อำเภอส่องดาว  จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อ  3  จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร – จังหวัดอุดรธานี  และจังหวัดกาฬสินธุ์ บนเทือกเขาภูพานซึ่งเชื่อมต่อจากจังหวัดสกลนครที่มีนามตามชาวบ้านท้องถิ่น เรียกว่า“ภูผาเหล็ก”ค งจะมาจากความหมายที่ว่าบริเวณพื้นที่ถ้ำพวงนั้นมีแร่เหล็กเป็นจำนวนมาก   หากนำแม่เหล็กวางลงบนพื้นดิน จะมีหินเล็กๆติดขึ้นมาเป็นพวง  กล่าวย้อนหลังไปประมาณ  70 – 80  ปี บริเวณพื้นที่วัดถ้ำพวงที่ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำพวงนั้นคงจะอาศัยถ้ำเล็กๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนอย่างพวงเกวียนหรือกระทูลเกวียน ชาวบ้านจึงพากันเรียกถ้ำพวง และเรียกติดปากกันมาจนถึงทุกวันนี้
พื้นที่ถ้ำพวง  ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต  มีหน้าผาล้อมรอบสูงชันตระการตาน่าสะพรึงกลัว มีทางขึ้นทางเดียว คือ ทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบและสูงชันตามสภาพของภูเขา
พิพิธภัณฑ์อาจารย์วัน อุตตโม เป็นอาคารเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น  ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วนชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน บริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำพวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมุจรินทร์องค์ใหญ่ และในบริเวณวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมยังมีสังเวชนียสถานจำลองสถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  ปฐมเทศนา  และปรินิพพานจากประเทศอินเดียแห่งเดียวในภาคอีสาน
พระอาจารย์วัน อุตตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) ท่านเป็นพระที่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ "ทำให้ดูมากกว่าบอกให้ทำ" ท่านจึงเป็นที่เคารพรักของศิษย์ทั่วไปปฏิปทาของท่านคือความอดทนไม่บ่นว่า ร้อนมาก หนาวมาก ท่านคงคิดว่าพูดออกไปแล้ว ก็ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้กระมังจึงเงียบเสีย และคำว่าเหนื่อยมาก หิวมาก กระหายมาก ท่านก็ไม่เคยบ่น พูดไปก็คงไม่หายเหนื่อย พูดไปแล้วคงไม่หายหิว หายกระหาย นอกจากจะพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหนื่อยและรับประทานเสีย
พระอาจารย์วัน อุตตโม เดิมชื่อ วัน นามสกุล สีลารักษ์ เกิดวันที่ 13 สิงหาคม 2465 ที่ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายแหลม สีลารักษ์ มารดาชื่อ นางจันทร์ สีลารักษ์ มีพี่น้อง 2 คน พระอาจารย์วัน อุตตโม เป็นคนโต และมีพี่น้องต่างมารดาอีก 3 คน ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2479 โดยมี พระราชกวี (จูม พันธุโล) เป็นอุปัชฌาย์ ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญิกวาส อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านได้พาออกเที่ยววิเวก 2 พรรษา และพาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม อีก 2 พรรษา
พรรษาที่ 5 พระอาจารย์วัน อุตตโม ได้กราบลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาฝ่ายปริยัติธรรมที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร พระอาจารย์วัน อุตตโม ได้รับการชักชวนจากพระอาจารย์สิงห์ ธนปาโล ไปฝากตัวเป็นศิษย์ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก อยู่ใกล้กับจังหวัดอุบลราชธานี และต่อมาท่านได้อุปสมบทที่วัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2485 โดยมีพระครูจิตตวิโสธณาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย วิสารโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นพระได้ทราบข่าวการมรณภาพของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี จึงเดินทางไปนมัสการศพท่าน และได้พบพระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ ที่วัดป่าสุทธาวาส ขณะที่จำพรรษาในปี พ.ศ.2488 พระอาจารย์วัน อุตตโม ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ที่วัดบ้านหนองผือ